- อาจารย์ย้ายจากห้อง 432 มาสอนที่ห้อง 235
- อาจารย์ถามเกี่ยวกับงานที่สั่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 คน ให้ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้จากใบงานของเพื่อนในกลุ่มแล้วนำมาสรุปเป็นแผ่นเดียวกันว่านักศึกษาสามารถวิเคราะห์สิ่งที่อ่านได้ว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร
ภาษาคณิตเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร
เรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อแบ่งปัน (งานกลุ่ม)
นางสาวอิฏอาณิก เทพยศ เลขที่ 11
นางสาวพิชชา พรมกลิ้ม เลขที่ 7
นางสาวชุติภา สมบุญคุณ เลขที่ 2
ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิคศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดคำนวณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนและต้องใช้เสมอ การคิดคำนวณและแก้โจทย์ปัญหานั้นอย่ามุ่งเอาจริงกับคำตอบสามารถให้เหตุผลในการกระทำของตนเองได้แต่ควรเน้นทักษะกระบวนการคิดในเด็กแต่ละคนว่าเด็กสามารถประเมินขนาดได้เด็กเริ่มสนใจสิ่งใหญ่และสามารถสื่อสารกับเพื่อนกับผู้ใหญ่ได้โดยพัฒนาการทางสติปัญญาจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับหากได้การกระตุ้นที่เหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การคิดคำนวณบวกลบ
จุดมุ่งหมาย
1. รู้ถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์
2. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
3. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน
4. เป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจโลกรอบตัว
5. สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลข การนับ การเพิ่ม และการลด
6. กระตุ้นให้เกิดอิสระและมีการคิดจินตนาการ
7. ทำให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ทดลอง
8. สร้างเสริมความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจากการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบการจัดประเภท รู้เวลา ตำแหน่ง รู้รูปทรง และขนาด
ทฤษฏีการสอน
การสอนคณิตศาสตร์ต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัว ครูสอนฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำต่างๆ และความหมายของทุกคำในโจทย์แต่สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่าต้องให้ผู้เรียนเข้าใจในมโนทัศน์ ตรรกะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามที่ผู้เรียนเข้าใจโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าใจได้อ่านโจทย์หลายๆครั้งและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทั้งหมดแต่พัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กจะเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของเด็กคณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าภาษาดังนั้นในการสอนตัวเลขสำหรับเด็กจึงมีบริบทการสอนเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยวิธีการบวก ลบ คูณ หาร หรือยกกำลัง ซึ่งผู้สอนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ที่คิดวิธีทำได้ด้วยตนเอง
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กโดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ตัวเลข จำนวน การอ่านคำ การนับ การบวก การเปรียบเทียบ และการบอกเหตุผล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เด็กได้ลงมือปฏิบัติและได้คิดบรรยากาศการเรียนไม่เคร่งเครียดกิจกรรมได้รับการวางแผนอย่างดีสร้างความคุ้นเคยกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง
อ้างอิงจากหนังสือ
เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, สุวร กาญจนมยูร,2538:2, เลขหมู่หนังสือ 510.7
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเดฝ้กปฐมวัย,ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ,25533:154-164,เลขหมู่หนังสือ 372.21 ก728ก ฉ.4
- อาจารย์ประเมินในงานที่สั่งทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม แนะนำและปรับปรุงในงานชิ้นต่อๆไป
- จากการเรียนวันนี้ได้ทักษะ
- การสรุปความ
- การค้นหา
รูปภาพกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น