วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีตอนเช้า  ที่ 22  พฤศจิกายน   2555

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
              
             นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19


1.  การนับ  (Counting)
2.  ตัวเลข  (Number)
3.  การจับคู่  (Matching)
4.  การจัดประเภท  (Classification)
5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)
6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)
7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)
8.  การวัด  (Measurement)
9.  เซต  (Set)
10.  เศษส่วน  (Fraction)
11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)
12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)

              อาจารย์แจกกระดาษให้วาดสัญลักษณ์ของตัวเองพร้อมเขียนชื่อจริงของเรากำกับไว้ใต้ภาพ แล้วให้คนที่มาก่อน 08.30 น. เอาของตัวเองไปติดที่กระดาน
              อาจารย์อธิบายถึงการใช้เวลาในการแบ่งเกณฑ์
              อะไรที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้สิ่่งนั้นคือภาษาในการสื่อสาร   ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
              อาจารย์ไปประชุมเลยสั่งงานให้นักศึกษาจับคู่กันทำงาน


                                 สมาชิก

1.  นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543   เลขที่ 7
2.  นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ   5411201618   เลขที่ 11

จัดทำแผนข่อบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.  การนับ --->  นัทีละคู่  1 คู่ มี 2 ข้าง  เช่น 2,4,6,8,10
2.  ตัวเลข --->  รองเท้ามีทั้งหมด 5 คู่
3.  การจับคู่ ---> แยกระหว่ารองเท้าส้นสูงกับรองเท้าส้นเตี้ย คือ ส้นเตี้ยคู่กับส้นเตี้ย  ส้นสูงคู่กับส้นสูง รวมถึงการจับคู่ของสีรองเท้าและรูปแบบ
4.  การจัดประเภท ---> แยกส้นเตี้ยกับส้นสูงของรองเท้าแต่ละประเภท
5.  การเปรียบเทียบ ---> เปรียบเทียบรองเท้าที่มีขนาดเล็กและใหญ่ต่างกันหรือมีขนาดที่ต่างกันออกไป
6.  การจัดลำดับ ---> จัดลำดับจากการซื้อรองเท้าที่ซื้อมาก่อนและซื้อมาหลังใหม่หรือเก่า
7.  รูปทรงและเนื้อที่ ---> รองเท้าแต่ละคู่มีขนาดและรูปทรงที่ต่างกันไป เช่น หัวแหลม  หัวมน  และ ส้นสูงแบบส้นแหลมและส้นทึบ
8.  การวัด ---> วัดขนาดรองเท้าว่ามีความสูงกี่นิ้วและรองเท้าส้นต่ำต่ำกว่าส้นสูงกี่นิ้ว
9.  เซต ---> การจัดเซตรองเท้า จัดรองเท้าที่มีสีเดียวกันและมีราคาที่ซื้อมาเท่ากัน ซื้อมาจากที่เดียวกัน  สีเดียวกัน สูงต่ำ
10.  เศษส่วน ---> การแบ่งรองเท้าให้ได้เท่ากัน เช่น 5:5
11.  การจัดทำตามแบบหรือลวดลาย ---> เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นรองเท้าประเภทใดควรใส่ในโอกาสใด  เช่น รองเท้าผ้าใบ ใส่วิ่งใส่ออกกำลังกาย
12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ---> คุณภาพที่สมราคา  เช่น  ซื้อรองเท้ามา 2 คู่  คู่แรก 500  คู่ที่สอง 1000 คู่แรกก็จะมีคุณภาพต่ำกว่าคู่ที่สองใช้งานได้น้อยกว่า



รูปภาพกิจกรรมการเรียนการสอน










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น