วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วัน พฤหัสบดี ตอนเช้า  ที่ 13  ธันวาคม   2555


อาจารย์พูดถึงหนังสือคู่มือกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
              
              
               มาตรฐาน  คือ  สิ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ สิ่งที่มีคุณภาพ สิ่งที่เป็นแนวทางในการนำไปใช้งาน
         
              คู่มือ  คือ  แนวทางการปฏิบัติ

              คณิตศาสตร์  เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่จะช่วยวิทยาศาสตร์

เครื่องมือในการเรียนรู้

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์


    การแสดงจำนวน
1. เขียน
2. พูด
3. หยิบตัวเลขมาวาง
4. เส้นจำนวน
5. ความหลากหลายของการแสดงจำนวน

   การวัด
  
   เลขาคณิต
1. รูปทรง

   การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น  เช่น  การวิเคราะห์ชื่อวิชา  หน่วยการเรียน


อาจารย์ให้จับกลุ่ม  5  คน  ให้แตกหน่วยกลุ่มหน่วยสาระ

- หลักเกณฑ์ในการเลือก
- เลือกมาจากไหน

สมาชิกในกลุ่มข้าพเจ้ามี

นางสาว  สุภาภรณ์   ชุ่มชื่น  เลขที่ 12
นางสาว  นิตยา  มุกจันทร์   เลขที่ 17
นางสาว  ศิวิมล   มณีศรี   เลขที่ 24
นางสาว  พิชชา   พรมกลิ้ง  เลขที่ 7
นางสาว อิฏอาณิก  เทพยศ  เลขที่ 11

ได้หัวข้อ  "ครอบครัวของฉัน"



วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6

วัน พฤหัสบดี ตอนเช้า  ที่ 6  พฤศจิกายน 2555



วันนี้อาจารย์ให้เตรียมกล่องมาคนละ  1  กล่อง



หลักการปฐมวัย

ทำอย่างไรให้เด็กเกิดความรู้  เกิดการรับรู้  เกิดการเรียนรู้
--->  เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  ลงมือกระทำโดยใช้การกระทำสัมผัส ทัง 5  
--->  การเล่นอย่างอิสระ

* ทำไมต้องเริ่มจากกล่อง เพราะ มันมีรปร่างทรงเรขาคณิตที่ชัดเจน  สามารถจับต้องได้ เป็นวัสดุที่หาง่าย

              การสอนเด็กไม่จำเป็นต้องซื้อสื่อที่แพง ๆ เราสามารถพัฒนาเด็กโดยให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

              อาจารย์ให้ใช้เกณฑ์ทั้ง  12  เกณฑ์มาหาค่าของกล่อง

              กล่องทุกรูปทรงมีทั้งหมด  6  ด้าน

             อาจารย์ให้จับกลุ่ม  10  คน 
                    
                       กลุ่มของดิฉันมี

นางสาว  สุภาภรณ์   ชุ่มชื่น  เลขที่ 12
นางสาว  อลิสา   มานะ   เลขที่ 13
นางสาว  ศิวิมล   มณีศรี   เลขที่ 24
นางสาว  กรกนก   ชินน้อย  เลขที่ 26
นางสาว  ประทานพร   สภากาญจนาพร  เลขที่ 28
นางสาว  นิตยา  มุกจันทร์   เลขที่ 17
นางสาว  รัตติกาล  เด่นดี  เลขที่ 9
นางสาว  ชุติภา   สมบุญคุณ  เลขที่ 2
นางสาว อิฏอาณิก  เทพยศ  เลขที่ 11
นางสาว  พิชชา   พรมกลิ้ง  เลขที่ 7


โดยให้เอากล่องที่เตรียมมามาประดิษฐ์รวมกันให้เป็นอะไรก็ได้  โดยให้โจทย์  ดังนี้
                   1. ให้ต่ออย่างอิสระโดยไม่ปรึกษากัน
                   2. ให้วางแผนว่าจะทำอะไรแล้วนำเสนความคิดแล้ววาดภาพร่างภาพออกมาให้เห็น

ทั้งหมดมี 4 กลุ่ม  กลุ่มของดิฉัน  กลุ่ม 3  กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ   "ให้วางแผนว่าจะทำอะไรแล้วนำเสนความคิดแล้ววาดภาพร่างภาพออกมาให้เห็น"  






อาจารย์แบ่งงานกลุ่ม  4  กลุ่ม  10  คน  ใช้กลุ่มเดิมโดยแต่ละกลุ่มอาจารย์จะสั่งของขึ้นมา 1 อย่างแล้วให้นำมาทำเป็นสื่อการสอนคณิตศาสตร์  สิ่งที่อาจารย์กำหนดให้มีดังนี้

         
    1.  กล่องแบรน    




2.  แกรนทิชชู่



3.  ขวดน้ำ



4.  ฝาขวดน้ำ



วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

วัน พฤหัสบดีตอนเช้า  ที่ 29 พฤศจิกายน 2555


  •  จับคู่ 2 คน    นำเสนอขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์  หน้าชั้นเรียน
  • อาจารย์ให้จับคู่  12  กลุ่มแรกได้หัวข้อ  ขอบข่ายคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยสัตว์

               


1.  การนับ = นับสัตว์ในสวนสัตว์
2.  ตัวเลข = เป็นตัวกำกับตัวเลขจากมากไปน้อย  ( ตัวเลข  ---> แทนค่าจำนวน )
3.  จับคู่ = ตัวเลขกำกับตัวเลข และ รูปทรง
4.  จัดประเภท = แยกประเภทของสัตว์ คือ สัตว์บก และ สัตว์น้ำ
5.  การเปรียบเทียบ = สัตว์บก กับ สัตว์น้ำ สัตว์ชนิดใดมากกว่า หรือ สัตว์ชนิดใดน้อยกว่ากัน
6.  การจัดลำดับ = หาคำ , จับคู่ 1:1  ( ถ้าเด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขมากพอ ) , นำมาเรียงลำดับ
7.  รูปทรง และ พื้นที่ = ไม่จำเป็นต้องจัด  "ลำตัว"  ของสัตว์ เสมอไป สามารถจัดเป็นขนาดกรงของสัตว์ หรือ กำหนดรูปทรงแล้วถามว่า....รูปทรงขนาดนี้สัตว์จะอยู่ในกรงได้ประมาณสักกี่ตัว?
8.  การวัด = วัดอาหารที่สัตว์กินในแต่ละวัน , วัดพื้นที่ที่สัตว์อาศัยอยู่
9.  เซต = การจัดตู้ปลา  อุปกรณ์มีอะไรบ้าง?
10.  เศษส่วน = ( สอนพื้นฐานให้กับเด็ก )  การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่ากัน >> เน้นให้เด็กแบ่งครึ่ง
11.  การทำตามแบบ = สร้างแบบ และ ทำตามแบบ
12.  การอนุรักษ์ = ดินน้ำมัน  ( รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปแต่ปริมาณเท่าเดิม ) , ทราย  ( เอาทรายใส่ขวดแล้วเอาแม่พิมพ์มาทำให้รูปร่างแตกต่างกันไป )

            และที่เหลืออีก 7 กลุ่ม  ได้ขอบเขตคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ   หน่วยผัก








สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543    เลขที่ 7
2. นางสาว อิฏอาณิก  เทพยศ  5411201618  เลขที่ 11

หมายเหตู  เนื่องจากวันนี้ดิฉันต้องไปทำธุระที่ต่างจังหวัด จึงไม่ได้ไปเรียน  นางสาว  พิชชา   พรมกลิ้ง  จึงได้ พูดนำเสนอกิจกรรมเพียงคนเดียว

กลุ่มดิฉันได้  หัวข้อที่  4  คือ  "การจัดประเภท"

1.  การนับ  =  นับผักในตะกร้า
2.  ตัวเลข  =  เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า  ( ลำดับที่  1,2,3,.....ตามลำดับ )
3.  จับคู่  =  จำนวนผัก กับ เลขฮินดูอารบิก
4.  จัดประเภท  =  แยกผักใบเขียว
5.  การเปรียบเทียบ  =  จากขนาด  รูปทรง จำนวน
6.  การจัดลำดับ  =  วัดผัก  โดยการเปรียบเทียบ  1:1
7.  รูปทรงและพื้นที่  =  ตะกร้าสี่เหลี่ยม ใส่แครอทได้กี่หัว


สัปดาห์หน้าอาจารย์ให้นำกล่องมาคนละใบ 




วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีตอนเช้า  ที่ 22  พฤศจิกายน   2555

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
              
             นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19


1.  การนับ  (Counting)
2.  ตัวเลข  (Number)
3.  การจับคู่  (Matching)
4.  การจัดประเภท  (Classification)
5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)
6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)
7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)
8.  การวัด  (Measurement)
9.  เซต  (Set)
10.  เศษส่วน  (Fraction)
11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)
12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)

              อาจารย์แจกกระดาษให้วาดสัญลักษณ์ของตัวเองพร้อมเขียนชื่อจริงของเรากำกับไว้ใต้ภาพ แล้วให้คนที่มาก่อน 08.30 น. เอาของตัวเองไปติดที่กระดาน
              อาจารย์อธิบายถึงการใช้เวลาในการแบ่งเกณฑ์
              อะไรที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้สิ่่งนั้นคือภาษาในการสื่อสาร   ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
              อาจารย์ไปประชุมเลยสั่งงานให้นักศึกษาจับคู่กันทำงาน


                                 สมาชิก

1.  นางสาว พิชชา   พรมกลิ้ง   5411201543   เลขที่ 7
2.  นางสาว อิฏอาณิก   เทพยศ   5411201618   เลขที่ 11

จัดทำแผนข่อบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.  การนับ --->  นัทีละคู่  1 คู่ มี 2 ข้าง  เช่น 2,4,6,8,10
2.  ตัวเลข --->  รองเท้ามีทั้งหมด 5 คู่
3.  การจับคู่ ---> แยกระหว่ารองเท้าส้นสูงกับรองเท้าส้นเตี้ย คือ ส้นเตี้ยคู่กับส้นเตี้ย  ส้นสูงคู่กับส้นสูง รวมถึงการจับคู่ของสีรองเท้าและรูปแบบ
4.  การจัดประเภท ---> แยกส้นเตี้ยกับส้นสูงของรองเท้าแต่ละประเภท
5.  การเปรียบเทียบ ---> เปรียบเทียบรองเท้าที่มีขนาดเล็กและใหญ่ต่างกันหรือมีขนาดที่ต่างกันออกไป
6.  การจัดลำดับ ---> จัดลำดับจากการซื้อรองเท้าที่ซื้อมาก่อนและซื้อมาหลังใหม่หรือเก่า
7.  รูปทรงและเนื้อที่ ---> รองเท้าแต่ละคู่มีขนาดและรูปทรงที่ต่างกันไป เช่น หัวแหลม  หัวมน  และ ส้นสูงแบบส้นแหลมและส้นทึบ
8.  การวัด ---> วัดขนาดรองเท้าว่ามีความสูงกี่นิ้วและรองเท้าส้นต่ำต่ำกว่าส้นสูงกี่นิ้ว
9.  เซต ---> การจัดเซตรองเท้า จัดรองเท้าที่มีสีเดียวกันและมีราคาที่ซื้อมาเท่ากัน ซื้อมาจากที่เดียวกัน  สีเดียวกัน สูงต่ำ
10.  เศษส่วน ---> การแบ่งรองเท้าให้ได้เท่ากัน เช่น 5:5
11.  การจัดทำตามแบบหรือลวดลาย ---> เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นรองเท้าประเภทใดควรใส่ในโอกาสใด  เช่น รองเท้าผ้าใบ ใส่วิ่งใส่ออกกำลังกาย
12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ---> คุณภาพที่สมราคา  เช่น  ซื้อรองเท้ามา 2 คู่  คู่แรก 500  คู่ที่สอง 1000 คู่แรกก็จะมีคุณภาพต่ำกว่าคู่ที่สองใช้งานได้น้อยกว่า



รูปภาพกิจกรรมการเรียนการสอน










วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีตอนเช้า ที่ 15 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์ย้ายจากห้อง 432  มาสอนที่ห้อง 235
- อาจารย์ถามเกี่ยวกับงานที่สั่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 คน ให้ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้จากใบงานของเพื่อนในกลุ่มแล้วนำมาสรุปเป็นแผ่นเดียวกันว่านักศึกษาสามารถวิเคราะห์สิ่งที่อ่านได้ว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร

   ภาษาคณิตเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร

เรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อแบ่งปัน (งานกลุ่ม)
นางสาวอิฏอาณิก   เทพยศ  เลขที่ 11
นางสาวพิชชา   พรมกลิ้ม   เลขที่ 7
นางสาวชุติภา   สมบุญคุณ   เลขที่ 2

ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิคศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดคำนวณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนและต้องใช้เสมอ การคิดคำนวณและแก้โจทย์ปัญหานั้นอย่ามุ่งเอาจริงกับคำตอบสามารถให้เหตุผลในการกระทำของตนเองได้แต่ควรเน้นทักษะกระบวนการคิดในเด็กแต่ละคนว่าเด็กสามารถประเมินขนาดได้เด็กเริ่มสนใจสิ่งใหญ่และสามารถสื่อสารกับเพื่อนกับผู้ใหญ่ได้โดยพัฒนาการทางสติปัญญาจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับหากได้การกระตุ้นที่เหมาะสม คณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การคิดคำนวณบวกลบ
จุดมุ่งหมาย
1. รู้ถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์
2. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
3. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน
4. เป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจโลกรอบตัว
5. สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลข การนับ การเพิ่ม และการลด
6. กระตุ้นให้เกิดอิสระและมีการคิดจินตนาการ
7. ทำให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ทดลอง
8. สร้างเสริมความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจากการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบการจัดประเภท รู้เวลา ตำแหน่ง รู้รูปทรง และขนาด
ทฤษฏีการสอน
การสอนคณิตศาสตร์ต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัว ครูสอนฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำต่างๆ และความหมายของทุกคำในโจทย์แต่สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่าต้องให้ผู้เรียนเข้าใจในมโนทัศน์ ตรรกะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ตามที่ผู้เรียนเข้าใจโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าใจได้อ่านโจทย์หลายๆครั้งและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทั้งหมดแต่พัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กจะเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของเด็กคณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าภาษาดังนั้นในการสอนตัวเลขสำหรับเด็กจึงมีบริบทการสอนเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยวิธีการบวก ลบ คูณ หาร หรือยกกำลัง ซึ่งผู้สอนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ที่คิดวิธีทำได้ด้วยตนเอง
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กโดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ตัวเลข จำนวน การอ่านคำ การนับ การบวก การเปรียบเทียบ และการบอกเหตุผล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เด็กได้ลงมือปฏิบัติและได้คิดบรรยากาศการเรียนไม่เคร่งเครียดกิจกรรมได้รับการวางแผนอย่างดีสร้างความคุ้นเคยกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง


                        อ้างอิงจากหนังสือ

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, สุวร กาญจนมยูร,2538:2, เลขหมู่หนังสือ 510.7
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเดฝ้กปฐมวัย,ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ,25533:154-164,เลขหมู่หนังสือ 372.21 ก728ก ฉ.4
  • อาจารย์ประเมินในงานที่สั่งทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม แนะนำและปรับปรุงในงานชิ้นต่อๆไป
  • จากการเรียนวันนี้ได้ทักษะ
  • การสรุปความ
  • การค้นหา


รูปภาพกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอน








วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีตอนเช้า ที่ 10 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์พูดถึงแผนการสอน
- อาจารย์พูดถึงวิธีการแบ่งกล่มโดยวิธีต่าง ๆ เช่น  การนับเลข  1,2    การจับฉลาก โดยมีเลข1และเลข2
การใช้เกณฑ์
- การจำแนกคณิตศาสตร์ตามสิ่งของ
           รูปทรง ----> โต๊ะ  หน้าต่าง  ประตู
- พูดถึงการนับ ---> ขนาด ---> การเปรียบเทียบ ---> การคำนวณ

การจัดการศึกษาปฐมวัยสามาร๔จัดส่งเสิมได้ทั้งหมด

- การใช้เหตุผล เด็กตอบตามที่ตามองเห็นแสดงว่าเด็กยังไม่ใช้เหตุผล  ถ้าเด็กตอบคนล่ะอย่างกับสิ่งที่เห็นแสดงว่าเด็กใช้เหตุผลเชื่อมโยง

สมองทำงานยังไง
ต้องดูจากพัฒนาการของเด็ก ---> เกิดความรู้ ---> เกิดการเรียนรู้

       อาจารย์ให้ไปห้องสมุดหาหนังสือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

1. ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้เขียน   เลขหมู่หนังสือ  ปี พ.ศ.
2. ดูหนังสือเลือกมา 1 คน  หาความหมายของคณิตศาสตร์บอกว่าใครให้ความหมาย  เขียนอ้างอิงหนังสือเล่มนั้น     ชื่อ________หน้า______ชื่อหนังสือ_____พ.ศ.______
3. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
4. ทฤษฏีการสอน  วิธีการสอน
5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1

วันที่ พฤหัสบดีตอนเช้า  ที่ 1  พฤษจิกาย 2555

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ  Blogger  เพื่อเก็บสะสมงานและบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ บล็อค อันเดิม และอาจารได้พูดถึง กฏกติการในการเรียนการสอน